สาระสุภาษิต
๖๘. ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ
ฉบับของกรมศิลปากรว่า "ช้างไล่แท่นเลี่ยงหลบ"
ฉบับของกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ว่า "ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ" น่าจะุถูกต้องกว่า เพราะคำว่า "แล่น" น้ัน ใช้กับ เรือ รถ และช้าง คืออาการวิ่งไปตรงๆ ทื่อๆ เลี้ยวหักมุมหรือหันโดยเร็วไม่ได้ เพราะตัวใหญ่ คนและสัตว์อื่นใช้คำว่า "วิ่ง" เพราะอาจเลี้ยว หยุด หรือหันกลับได้เร็วดังใจ
จะว่า "แท่น" หรือ "กระแท่น" ซึ่งแปลว่า กระทบ ก็ไม่ได้ เพราะช้างน้ันใช้คำว่า แทง ถีบ เหยียบ เท่าน้ัน ที่เรียกว่า ช้างแทง ช้างถีบ หรือช้างเหยียบ เช่นสุภาษิตวชิรญาณว่า "ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว"
แล่น - อาการวิ่งของรถ เรือ ช้าง รวมทั้งลูกกระสุนหรือลูกปืน เป็น อาการวิ่งทื่อๆไปตรงๆ
ไล่ - กวด ตาม ต
เลี่ยง - อาการที่เบี่ยงตัวไปทางซ้ายหรือทางขวา
หลบ - อาการที่ทำตัวให้ต่ำลง จากวิถีของสิ่งที่วิ่งมากระทบ เช่นคำว่า หลบลงต่ำ หลบหลังคา คือกดให้จากที่มุงไว้แบนราบลงมา ไม่โต้ลม หรือ "รู้หลบเป็นปีก" เหมือนอาการของนกบินเข้า พุ่มไม้ ก็หุบปีกลงต่ำไม่ให้กระทบกับกิ่งไม้
สอนว่า เมื่อช้างไล่แทง แล่นมา ให้เลี่ยงออกทางขวาหรือซ้าย หรือหลบหลีกไปเสีย เช่นวิ่งหลบโคนต้นไม้
คำโบราณว่า "รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง" คือให้รู้จักหลบลงเหมือนปีกนก จะได้ไม่ปะทะกิ่งไม้ และให้รู้จักหลีกของชั่ว
คำโคลงโลกนิติว่า
"หลีกเกวียนให้หลีกห้า ศอกหมาย
ม้าหลีกสิบศอกกราย อย่าใกล้
ช้างสี่สิบศอกคลาย คลาคลาด
เห็นทุรชนหลีกให้ ห่างพ้น ลิบตา ฯ"
๖๙. สุวานขบอย่าขบตอบ
สุวาน - สุนัข หมา (แปลว่า เสียงดี คือ เสียงหอน)
ขบ - กัด ขย้ำ
สอนว่า หมากัดอย่ากัดตอบ
คำโคลงโลกนิติว่า
" หมาใดตัวร้ายขบ บาทา
อย่าขบตอบต่อหมา อย่าขึ้ง
ทรชนชาติช่วงทา รุณโทษ
อย่าโกรธอย่าหน้าบึ้ง ตอบถ้อย ถือความ ฯ
มาจากพุทธภาษิตว่า "โย สฺวานสฺส ทุเสปาทํ ตสฺส ปาทํ นโส ทฺส เอวเมว หิ ทุษชโน อโกรธา น สมนฺติโต ฯ"
บัณฑิตพระร่วงนี้จีงมาจากพุทธภาษิตโดยตรง
๗๐.อย่ากอบจิตริษยา
ริษยา - เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า อิจฉา แปลว่า ความ อยากได้ อยากมี อยากเป็น เมื่อเห็นคนอื่นได้ มี หรือเป็นดีกว่า ตน ใจไม่พลอยชื่นชมยินดีกับความมี ความดีของผู้อื่น เมื่อไม่ ได้ก็ทะเยอทะยาน หาทางโจมตี ติฉินนินทาเขาด้วยจิตใจอัน คุกรุ่นรุ่มร้อน
บัณฑิตพระร่วงสอนว่า อย่ามีจิตริษยา อย่าให้จิตของตนประกอบไปด้วยความริษยา จงพลอยชื่นชมยินดีด้วย คิดในทางที่ถูกต้องว่า เขาได้กระทำบุญกุศลมาในปางนี้และปางก่อน จึงได้รับผลตอบแทนดังนั้น เรายังทำบุญกุศลน้อยจึงได้ จึงมี จึงเป็นน้อยกว่าเขา ต้องพยายามกระทำบุญกุศลต่อไป คำสอนนี้เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา สอนให้ยินดี อนุโมทนา มีมุทิตาจิต ยินดีในความเจริญของผู้อื่น เป็นการสร้างบุญกุศลอย่างหนี่ง เรียกว่าอนุโมทนามัยกุศล กุศลที่เกิดจากการยินดีในการกระทำของผู้อื่น
๗๑. เจรจาตามคดี
คดี - คติ ความเป็นมา ความเป็นไป ตามสภาพความเป็นจริง คือผลที่ เกิดมาแต่เหตุ มิได้เกิดขึ้นเองโดยปราศจากมูลเหตุ เช่น คนทำดี ก็ย่อมได้ดี คนทำดีน้อยก็ได้ดีน้อย คนทำดีมากก็ได้ดีมาก ได้ รับความสรรเสริญ ได้รับความสุข ความเจริญก้าวหน้า มี เกียรติยศ ชื่อเสียง ได้หน้าได้ตา ได้รับความเคารพนับถือ ได้ เลื่อนตำแหน่งหน้าที่ ได้อำนาจหน้าที่ ได้ลาภสักการะ คนที่ไม่ ทำก็ไม่ได้ ถ้าอยากได้ ถ้าอยากได้ก็ต้องทำ ผลที่ได้รับตอบแทน ก็คือ ความดี มีคนยกย่องสรรเสริญ มีความสุข ส่วนลาภผลนั้น เป็นผลพลอยได้ที่ตามมา ไม่ใช่ตัวของความดี
การคิดเช่นนี้ การพูดเช่นนี้ เป็นการพูดตามคดี เป็นการพูดตามสภาพความเป็นจริง ไม่พูดให้ผิดความจริง
พระพุทธศาสนาสอนว่า "เย ธมฺมา เหตุปพพวา เตสํ เหตํ ตถาคโต" สิ่งทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุ
บัณฑิตพระร่วงนี้จึงสอนตามแนวคติทางพระพุทธศาสนา เรียกว่าเป็นสัมมาทิฎฐิ - เห็นชอบ และสัมมาวาจา - เจรจาชอบ ดังนี้
๗๒. อย่าปลุกผีกลางคลอง
ปลุก - ทำให้ตื่น ทำให้ลุกขึ้น เช่นปลุกคนหลับให้ตื่น ปลุกคนนอน ให้ลุกขึ้น ทำให้เข้มแข็ง เช่น ปลุกใจ ทำให้ขลัง เช่น ปลุก เศก ทำให้ฟืื้นตัวขึ้นมา เช่น ปลุกผี
ปลุกผี - ทำให้ฟื้นตัวขึ้น เช่น ไม่นิ่ง ไม่นอน ไม่ตาย มีคำไทยคำหนึ่ง ว่า "ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง" คือ อาการปล้ำยกให้ผีลุกขึ่้นมา ปลุกผีให้ลุกขึ้นมา
ใครเคยเห็นการอาบน้ำศพแบบโบราณ เขาจับตัวศพให้นั่งขึ้นอาบน้ำ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้า จะเห็นว่าทุลักทุเล อาการอย่างนี้เรียกว่า "ปลุกผีลุก" คือต้องช่วยกันปล้ำให้ลุกขึ้นมานั่งด้วยความลำบากไม่เหมือนคนเป็นๆ เพราะคนตายน้้นตัวแข็งแล้ว "ปลุกผีนั่ง" การยกคนตายให้นั่งก็ทำด้วยความลำบาก การปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งเช่นนี้ต้องทำที่วัดหรือบ้านเรือนอันมีพื้นที่แข็งแรง แต่ถ้าหากเอาศพใส่เรือไปแล้วทำการปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งเช่นนี้ เรือย่อมจะเอียงโคลงเคลง เรืออาจจะล่่ม จมน้ำตายกัน ท่านจึงห้ามปลุกผีกลางคลอง แม้การเอาศพคนจมน้ำใส่โลงศพ ก็ต้องเอามาใส่บนบก ไม่ใส่กลางน้ำ หรือในเรือ
คำนี้ไม่เกี่ยวกับการปลุกผีกระทำพิธีทางไสยศาสตร์อะไรเลย เป็นการพูดเปรียบเทียบว่าการทำอะไรที่ขลุกขลักน้ัน ให้กระทำในที่มั่นคง มีพื้นรองรับแข็งแรง ทำอะไรให้ฟ้าดินเห็นด้วย อย่าทำอะไรที่ใครไม่เห็นด้วย ไม่ยอมรับ ดังเช่นปลุกผีกลางคลอง จะไม่สำเร็จ เป็นอันตราย และไม่เป็นศิริมงคล
มงคลสูตรของพระพุทธองค์ทรงสอนว่า
"อนุวชฺชานิ กมฺมามิ เอตํมฺมํ คลุมตฺตมัง" การประกอบการงานไม่รุงรัง เป็นมงคลอันอุดม (คือไม่ทอดทิ้งงาน)
บัณฑิตพระร่วงนี้ เป็นคำสอนตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนา แต่เป็นการกล่าวเปรียบเทียบตามสำนวนไทย
๗๓. อย่าปองเรียนอาถรรพ์
(พลันฉิบหายวายม้วย)
ปอง - มุ่งหมาย ต้องการ ประสงค์
อาถรรพ์ - วิปริต ผิดธรรมดา มีอันเป็นไป ไม่ควรเป็น
อาถรรพ์ เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ข้างฝ่ายพราหมณ์ เป็นคัมภีร์หนึ่งใน ๔ คัมภีร์ เรียกว่า อาถรรพ์เวท เป็นวิชาทางจิตกระทำให้เกิดผลในทางวิปริตอาเพศ วิบัต เช่น คนที่จะแต่งงานกันเกิดเหตุล้มตายเสียก่อนแต่งงาน ปลูกเรือนไว้เกิดไฟไหม้ คนอยู่อาศัยเกิดล้มตายไม่ได้อยู่อย่างนี้เรียกว่า เกิดอาถรรพ์
อาถรรพ์ คือเกิดความวิบัติ เกิดสิ่งไม่ควรเกิด
วิชาอาถรรพ์นั้นเป็นวิชาที่เรียนไว้มุ่งร้าย ประทุษร้ายผู้อื่นให้วิบัติล่มจม ป่วยไข้และล้มตาย การทำอาถรรพ์แก่ผู้อื่นผู้กระทำก็จะได้รับผลอย่างเดียวกัน อย่างคำโบราณว่า ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว (ทุกฺขโต ทุกฺขฐานัง) ท่านจึงห้ามเรียน
พลันฉิบหายวายม้วย เป็นประโยคสืบเนื่องอธิบายถึงผลของการเรียนอาถรรพ์ว่าจะเกิดฉิบหายวายม้วยโดยพลัน
พลัน - เร็ว ด่วน ทันที ทันตาเห็น
ฉิบ - ฉับพลัน
หาย - หายนะ ล่มจม เสื่อมสูญ
วาย - ร่วงโรย ไม่มีเหลือ เช่น ผลไม้วาย หรือ ตลาดวาย หมายถึงผลไม้หมดต้น หรือ ตลาดเลิกขายของ ของหมดแล้ว
ม้วย - ตาย
รวมแปลความว่า "ล่มจมเสื่อมสูญ ล้มตายท้ังหมดทั้งสิ้น"
คำสอนนี้เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมดาตามหลักวิทยาศาสตร์ด้วย
๗๔. อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด
ยล - ภาษาเขมร แปลว่า ดู มอง เห็น แผลงเป็นยุบล แปลว่าเรื่อง ราว ที่แลเห็น เรื่องราวทีจดจำเอามา
เยี่ยง - แบบ อย่าง ฉบับ เช่น คำว่า จงดูเยี่ยง หรือ จงเอาเยี่ยงกา แต่ อย่าเอาอย่างกา ที่มันขยันหากิน แต่การหากินด้วยการลัก ขโมยเขากินไม่ควรเอาอย่าง
ถ้วย - ชามใบเล็กๆ ทำด้วยกระเบื้อง หรือทำด้วยแก้วแตกง่าย
มิติด - แตกแล้วก็แตกไปเลย อย่าเอามาต่อไม่ติด ถึงจะมาหลอมเข้า ใหม่ก็ไม่เหมือนกัน
สอนว่า อย่าดูเยี่ยงถ้วยที่แตกแล้วต่อไม่ติด หมายถึงการแตกร้าวกันนั้น อย่าบังควรให้แตกแยกกันไปเหมือนถ้วยชามแตก เอามาใช้ประโยชน์อะไรอีกไม่ได้
โบราณมีคำพังเพยว่า "รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ" หมายความว่าถ้าจะรักกันให้ยึดยาวต่อไป ก็ให้ตัดความบาดหมางขัดแย้งนั้นเสีย แต่ถ้าหากว่าต่อความยาวสาวความยึดต่อไป มิตรภาพก็จะสั้น
คำโคลงโลกนิติสอนว่า
"ผจญคนมักโกรธด้วย ไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง หยุดด้วย สัตยา ฯ"
คำโคลงบทนี้ก็เป็นการสอนให้เอาชนะคนด้วยความดีเพื่อจะเป็นมิตรไมตรีต่อกันไป จะได้ไม่แตกเหมือนถ้วยแก้ว
๗๕. จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย
สัมฤทธิ์ - ขันที่ทำด้วยโลหะผสม เงิน ทองเหลือง ทองแดง สังกะสี เป็นโลหะที่มีคุณภาพเหนียว แข็ง ตกไม่แตก ถึงจะทุบให้ แตกก็เพียงแต่ร้าวราน ไม่แตกออกเป็นเสี่ยง ยังคงรูปอยู่
ท่านจึงเรียกโลหะนี้ว่าโลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งแปลว่าโลหะสำเร็จ มีคุณภาพดีเหมือนฤทธิ์อำนาจทีมีอยู่ในตัวเอง ทำลายก็ไม่แตก ปัจจุบันนี้นักภาษาไทยท่านให้เขียนเป็น "สำริด" ซึ่งจะผิดจากความหมายเดิมไป
บัณฑิตพระร่วงบทนี้สอนว่า จงเอาเยี่ยงอย่างสัมฤทธิ์ซึ่งไม่แตกง่ายๆ ถึงแตกก็ไม่เสีย ยังใช้การได้อยู่ การแตกร้าวของคนถึงจะมีการแตกต่างกันในทางความคิดเห็นและความเชื่อถือ ก็ไม่ควรจะให้แตกสลาย แตกแยกกันออกไปเลย ควรจะประสานประโยชน์ต่อไปได้ ดังขันสัมฤทธิ์ซึ่งแตกก็ไม่แตกกระจาย
คำโคลงโลกนิติว่า
"หลีกเกวียนให้หลีกห้า ศอกหมาย
ม้าหลีกสิบศอกกราย อย่าใกล้
ช้างสี่สิบศอกคลาย คลาคลาด
เห็นทุรชนหลีกให้ ห่างพ้น ลิบตา ฯ"
๖๙. สุวานขบอย่าขบตอบ
สุวาน - สุนัข หมา (แปลว่า เสียงดี คือ เสียงหอน)
ขบ - กัด ขย้ำ
สอนว่า หมากัดอย่ากัดตอบ
คำโคลงโลกนิติว่า
" หมาใดตัวร้ายขบ บาทา
อย่าขบตอบต่อหมา อย่าขึ้ง
ทรชนชาติช่วงทา รุณโทษ
อย่าโกรธอย่าหน้าบึ้ง ตอบถ้อย ถือความ ฯ
มาจากพุทธภาษิตว่า "โย สฺวานสฺส ทุเสปาทํ ตสฺส ปาทํ นโส ทฺส เอวเมว หิ ทุษชโน อโกรธา น สมนฺติโต ฯ"
บัณฑิตพระร่วงนี้จีงมาจากพุทธภาษิตโดยตรง
๗๐.อย่ากอบจิตริษยา
ริษยา - เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า อิจฉา แปลว่า ความ อยากได้ อยากมี อยากเป็น เมื่อเห็นคนอื่นได้ มี หรือเป็นดีกว่า ตน ใจไม่พลอยชื่นชมยินดีกับความมี ความดีของผู้อื่น เมื่อไม่ ได้ก็ทะเยอทะยาน หาทางโจมตี ติฉินนินทาเขาด้วยจิตใจอัน คุกรุ่นรุ่มร้อน
บัณฑิตพระร่วงสอนว่า อย่ามีจิตริษยา อย่าให้จิตของตนประกอบไปด้วยความริษยา จงพลอยชื่นชมยินดีด้วย คิดในทางที่ถูกต้องว่า เขาได้กระทำบุญกุศลมาในปางนี้และปางก่อน จึงได้รับผลตอบแทนดังนั้น เรายังทำบุญกุศลน้อยจึงได้ จึงมี จึงเป็นน้อยกว่าเขา ต้องพยายามกระทำบุญกุศลต่อไป คำสอนนี้เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา สอนให้ยินดี อนุโมทนา มีมุทิตาจิต ยินดีในความเจริญของผู้อื่น เป็นการสร้างบุญกุศลอย่างหนี่ง เรียกว่าอนุโมทนามัยกุศล กุศลที่เกิดจากการยินดีในการกระทำของผู้อื่น
๗๑. เจรจาตามคดี
คดี - คติ ความเป็นมา ความเป็นไป ตามสภาพความเป็นจริง คือผลที่ เกิดมาแต่เหตุ มิได้เกิดขึ้นเองโดยปราศจากมูลเหตุ เช่น คนทำดี ก็ย่อมได้ดี คนทำดีน้อยก็ได้ดีน้อย คนทำดีมากก็ได้ดีมาก ได้ รับความสรรเสริญ ได้รับความสุข ความเจริญก้าวหน้า มี เกียรติยศ ชื่อเสียง ได้หน้าได้ตา ได้รับความเคารพนับถือ ได้ เลื่อนตำแหน่งหน้าที่ ได้อำนาจหน้าที่ ได้ลาภสักการะ คนที่ไม่ ทำก็ไม่ได้ ถ้าอยากได้ ถ้าอยากได้ก็ต้องทำ ผลที่ได้รับตอบแทน ก็คือ ความดี มีคนยกย่องสรรเสริญ มีความสุข ส่วนลาภผลนั้น เป็นผลพลอยได้ที่ตามมา ไม่ใช่ตัวของความดี
การคิดเช่นนี้ การพูดเช่นนี้ เป็นการพูดตามคดี เป็นการพูดตามสภาพความเป็นจริง ไม่พูดให้ผิดความจริง
พระพุทธศาสนาสอนว่า "เย ธมฺมา เหตุปพพวา เตสํ เหตํ ตถาคโต" สิ่งทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุ
บัณฑิตพระร่วงนี้จึงสอนตามแนวคติทางพระพุทธศาสนา เรียกว่าเป็นสัมมาทิฎฐิ - เห็นชอบ และสัมมาวาจา - เจรจาชอบ ดังนี้
๗๒. อย่าปลุกผีกลางคลอง
ปลุก - ทำให้ตื่น ทำให้ลุกขึ้น เช่นปลุกคนหลับให้ตื่น ปลุกคนนอน ให้ลุกขึ้น ทำให้เข้มแข็ง เช่น ปลุกใจ ทำให้ขลัง เช่น ปลุก เศก ทำให้ฟืื้นตัวขึ้นมา เช่น ปลุกผี
ปลุกผี - ทำให้ฟื้นตัวขึ้น เช่น ไม่นิ่ง ไม่นอน ไม่ตาย มีคำไทยคำหนึ่ง ว่า "ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่ง" คือ อาการปล้ำยกให้ผีลุกขึ่้นมา ปลุกผีให้ลุกขึ้นมา
ใครเคยเห็นการอาบน้ำศพแบบโบราณ เขาจับตัวศพให้นั่งขึ้นอาบน้ำ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้า จะเห็นว่าทุลักทุเล อาการอย่างนี้เรียกว่า "ปลุกผีลุก" คือต้องช่วยกันปล้ำให้ลุกขึ้นมานั่งด้วยความลำบากไม่เหมือนคนเป็นๆ เพราะคนตายน้้นตัวแข็งแล้ว "ปลุกผีนั่ง" การยกคนตายให้นั่งก็ทำด้วยความลำบาก การปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งเช่นนี้ต้องทำที่วัดหรือบ้านเรือนอันมีพื้นที่แข็งแรง แต่ถ้าหากเอาศพใส่เรือไปแล้วทำการปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งเช่นนี้ เรือย่อมจะเอียงโคลงเคลง เรืออาจจะล่่ม จมน้ำตายกัน ท่านจึงห้ามปลุกผีกลางคลอง แม้การเอาศพคนจมน้ำใส่โลงศพ ก็ต้องเอามาใส่บนบก ไม่ใส่กลางน้ำ หรือในเรือ
คำนี้ไม่เกี่ยวกับการปลุกผีกระทำพิธีทางไสยศาสตร์อะไรเลย เป็นการพูดเปรียบเทียบว่าการทำอะไรที่ขลุกขลักน้ัน ให้กระทำในที่มั่นคง มีพื้นรองรับแข็งแรง ทำอะไรให้ฟ้าดินเห็นด้วย อย่าทำอะไรที่ใครไม่เห็นด้วย ไม่ยอมรับ ดังเช่นปลุกผีกลางคลอง จะไม่สำเร็จ เป็นอันตราย และไม่เป็นศิริมงคล
มงคลสูตรของพระพุทธองค์ทรงสอนว่า
"อนุวชฺชานิ กมฺมามิ เอตํมฺมํ คลุมตฺตมัง" การประกอบการงานไม่รุงรัง เป็นมงคลอันอุดม (คือไม่ทอดทิ้งงาน)
บัณฑิตพระร่วงนี้ เป็นคำสอนตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนา แต่เป็นการกล่าวเปรียบเทียบตามสำนวนไทย
๗๓. อย่าปองเรียนอาถรรพ์
(พลันฉิบหายวายม้วย)
ปอง - มุ่งหมาย ต้องการ ประสงค์
อาถรรพ์ - วิปริต ผิดธรรมดา มีอันเป็นไป ไม่ควรเป็น
อาถรรพ์ เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ข้างฝ่ายพราหมณ์ เป็นคัมภีร์หนึ่งใน ๔ คัมภีร์ เรียกว่า อาถรรพ์เวท เป็นวิชาทางจิตกระทำให้เกิดผลในทางวิปริตอาเพศ วิบัต เช่น คนที่จะแต่งงานกันเกิดเหตุล้มตายเสียก่อนแต่งงาน ปลูกเรือนไว้เกิดไฟไหม้ คนอยู่อาศัยเกิดล้มตายไม่ได้อยู่อย่างนี้เรียกว่า เกิดอาถรรพ์
อาถรรพ์ คือเกิดความวิบัติ เกิดสิ่งไม่ควรเกิด
วิชาอาถรรพ์นั้นเป็นวิชาที่เรียนไว้มุ่งร้าย ประทุษร้ายผู้อื่นให้วิบัติล่มจม ป่วยไข้และล้มตาย การทำอาถรรพ์แก่ผู้อื่นผู้กระทำก็จะได้รับผลอย่างเดียวกัน อย่างคำโบราณว่า ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว (ทุกฺขโต ทุกฺขฐานัง) ท่านจึงห้ามเรียน
พลันฉิบหายวายม้วย เป็นประโยคสืบเนื่องอธิบายถึงผลของการเรียนอาถรรพ์ว่าจะเกิดฉิบหายวายม้วยโดยพลัน
พลัน - เร็ว ด่วน ทันที ทันตาเห็น
ฉิบ - ฉับพลัน
หาย - หายนะ ล่มจม เสื่อมสูญ
วาย - ร่วงโรย ไม่มีเหลือ เช่น ผลไม้วาย หรือ ตลาดวาย หมายถึงผลไม้หมดต้น หรือ ตลาดเลิกขายของ ของหมดแล้ว
ม้วย - ตาย
รวมแปลความว่า "ล่มจมเสื่อมสูญ ล้มตายท้ังหมดทั้งสิ้น"
คำสอนนี้เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมดาตามหลักวิทยาศาสตร์ด้วย
๗๔. อย่ายลเยี่ยงถ้วยแตกมิติด
ยล - ภาษาเขมร แปลว่า ดู มอง เห็น แผลงเป็นยุบล แปลว่าเรื่อง ราว ที่แลเห็น เรื่องราวทีจดจำเอามา
เยี่ยง - แบบ อย่าง ฉบับ เช่น คำว่า จงดูเยี่ยง หรือ จงเอาเยี่ยงกา แต่ อย่าเอาอย่างกา ที่มันขยันหากิน แต่การหากินด้วยการลัก ขโมยเขากินไม่ควรเอาอย่าง
ถ้วย - ชามใบเล็กๆ ทำด้วยกระเบื้อง หรือทำด้วยแก้วแตกง่าย
มิติด - แตกแล้วก็แตกไปเลย อย่าเอามาต่อไม่ติด ถึงจะมาหลอมเข้า ใหม่ก็ไม่เหมือนกัน
สอนว่า อย่าดูเยี่ยงถ้วยที่แตกแล้วต่อไม่ติด หมายถึงการแตกร้าวกันนั้น อย่าบังควรให้แตกแยกกันไปเหมือนถ้วยชามแตก เอามาใช้ประโยชน์อะไรอีกไม่ได้
โบราณมีคำพังเพยว่า "รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ" หมายความว่าถ้าจะรักกันให้ยึดยาวต่อไป ก็ให้ตัดความบาดหมางขัดแย้งนั้นเสีย แต่ถ้าหากว่าต่อความยาวสาวความยึดต่อไป มิตรภาพก็จะสั้น
คำโคลงโลกนิติสอนว่า
"ผจญคนมักโกรธด้วย ไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง หยุดด้วย สัตยา ฯ"
คำโคลงบทนี้ก็เป็นการสอนให้เอาชนะคนด้วยความดีเพื่อจะเป็นมิตรไมตรีต่อกันไป จะได้ไม่แตกเหมือนถ้วยแก้ว
๗๕. จงยลเยี่ยงสัมฤทธิ์แตกมิเสีย
สัมฤทธิ์ - ขันที่ทำด้วยโลหะผสม เงิน ทองเหลือง ทองแดง สังกะสี เป็นโลหะที่มีคุณภาพเหนียว แข็ง ตกไม่แตก ถึงจะทุบให้ แตกก็เพียงแต่ร้าวราน ไม่แตกออกเป็นเสี่ยง ยังคงรูปอยู่
ท่านจึงเรียกโลหะนี้ว่าโลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งแปลว่าโลหะสำเร็จ มีคุณภาพดีเหมือนฤทธิ์อำนาจทีมีอยู่ในตัวเอง ทำลายก็ไม่แตก ปัจจุบันนี้นักภาษาไทยท่านให้เขียนเป็น "สำริด" ซึ่งจะผิดจากความหมายเดิมไป
บัณฑิตพระร่วงบทนี้สอนว่า จงเอาเยี่ยงอย่างสัมฤทธิ์ซึ่งไม่แตกง่ายๆ ถึงแตกก็ไม่เสีย ยังใช้การได้อยู่ การแตกร้าวของคนถึงจะมีการแตกต่างกันในทางความคิดเห็นและความเชื่อถือ ก็ไม่ควรจะให้แตกสลาย แตกแยกกันออกไปเลย ควรจะประสานประโยชน์ต่อไปได้ ดังขันสัมฤทธิ์ซึ่งแตกก็ไม่แตกกระจาย
(โปรดติดตามตอนต่อไป)